บทเรียนฟรี

มือใหม่หัดทำ Bullet Journal จัดระเบียบชีวิตไปพร้อมๆกับศิลปะ (Tie-In Butter Everyday Journal)

มือใหม่หัดทำ Bullet Journal จัดระเบียบชีวิตไปพร้อมๆกับศิลปะ ต้อนรับปีใหม่ (Tie-In Butter Everyday Journal)

หลายคนอาจเป็นคนชอบจดบันทึกสิ่งต่างๆลงบนสมุดโน๊ต เนยก็ชอบจดบันทึกเหมือนกันค่ะ แต่จดบันทึกแบบเดิมๆทำให้หน้ากระดาษดูหน้าเบื่อ วันนี้เนยจะมาแนะนำการทำ Bullet Journal (BUJO) สำหรับมือใหม่ รับรองว่ามีประโยชน์กว่าเดิม และได้วาดภาพอย่างเต็มที่ด้วยค่ะ

การทำ Bullet Journal เริ่มต้นไม่ยากเลยค่ะ และมีความเป็นอิสระมาก เราสามารถสร้างสรรค์ในรูปแบบใดก็ได้ เน้นเขียน เน้นวาด หรือนำภาพมาปะติดลงในสมุดก็สามารถทำได้ทั้งหมด แต่จะต้องมีองค์ประกอบพื้นฐาน 2 ข้อ คือ Rapid Logging และ Module

หากสนใจมาเริ่มต้นปีใหม่ด้วยการทำ Planner แบบง่ายๆ ที่เนยใช้ได้ผลจริงกันนะคะ ทักมาได้ที่ [https://lin.ee/syNIFtI](https://lin.ee/syNIFtI) ดูตัวอย่างได้ที่คอมเม้นท์เล้ยยย

1.Bullet Journal หรือ BUJO คืออะไร

ก่อนทำเรามาทำความรู้จักกับเจ้า Bullet Journal กันก่อนค่ะ

Bullet Journal คิดค้นโดย Ryder Carroll นักออกแบบและนักเขียนชาวอเมริกัน เพื่อจัดระเบียบชีวิต การทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ Bullet Journal ไม่ใช่แค่การจดบันทึกช่วยจำเท่านั้น ยังช่วยจัดลำดับความคิดอย่างเป็นระบบระเบียบผ่านหัวข้อต่างๆ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ดังนี้

– สิ่งที่คุณทำ สิ่งที่คุณควรทำและสิ่งที่คุณต้องการจะทำในอนาคต (Mental Inventory)
– ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน (Set Goal)
– ย้อนกลับมาดูเพื่อตรวจสอบเป็นประจำในทุกวัน (Recap)
– จัดความยุ่งเหยิงไร้ระเบียบให้เข้าที่เข้าทาง (Declutter)
– บันทึกกิจกรรมแบบละเอียด (Habit Tracker)

2.Rapid Logging (จดกระชับและเข้าใจง่าย)

– Topics ชื่อหัวข้อ ทุกกิจกรรมที่เราทำจะต้องมีการตั้งหัวข้อไว้ ตั้งที่เราเข้าใจง่ายๆ อ่านแล้วเข้าใจทันทีนะคะ
– Page Number เลขหน้า สำคัญมากจะช่วยให้เราหาหัวข้อต่างๆที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว โดยเราจะต้องทำสารบัญด้วย
– Short Sentences ประโยคสั้น ๆ เช่น งานที่ต้องทำ นัดหมาย บันทึกช่วยจำ หรืออะไรก็ได้ที่เป็นการบันทึกแบบสั้น ๆ
– Bullets สิ่งนี้เป็นหัวใจของการทำ Bullet Journal เลยค่ะ นั่นคือการแสดงสถานะในการบันทึกสิ่งต่าง ๆ โดยเราสามารถสร้างสัญลักษณ์ของเราเองได้ แต่ก็มีแนวทางหลักๆที่นิยมใช้ เช่น

+ แทนสิ่งที่ต้องทำ หรือ To do

X แทนงานที่ทำเสร็จแล้ว ปกติคือเขียนทับตัวข้างบน

> แทนงานที่ไม่เสร็จแล้วต้องย้ายไปวันอื่น

– แทนการบันทึกทั่วไป (Note)

° แทน Event หรือกิจกรรมที่ต้องทำ

3. Modules (โครงสร้างการบันทึกที่ช่วยจัดระเบียบให้ง่ายขึ้น)

– Index สารบัญ เราจะเขียนเลขหน้าและหัวข้อสั้นๆเอาไว้ เพื่อให้ค้นหาหน้าต่างๆของเราทำได้อย่างง่ายและรวดเร็ว ส่วนนี้จะใช้ประกอบกับ **Page Number**
– Future Log การวางแผนล่วงหน้าในระยะยาวหลายๆเดือน เช่น เที่ยวต่างประเทศ ลาพักร้อน เราจะเปิดสมุดออกมาเป็นหน้าคู่แล้วเขียนแบ่งหน้าละ 3 ช่อง แบ่งเป็นแต่ละเดือนแล้วเขียนรายละเอียดต่างๆที่จะเกิดขึ้นในเดือนนั้นๆ รวมทั้งสามารถเขียนความฝันและเป้าหมายในแต่ละเดือนของเราลงไปได้ด้วย
– Monthly Log บันทึกแบบรายเดือน จะเขียนขึ้นทุกครั้งที่เริ่มเดือนใหม่ โดยแบ่งเป็น 2 หน้าคู่ เขียน Title เป็นชื่อเดือน ในหน้าแรกจะเป็นหน้าปฏิทิน เขียนวันที่เรียงลงมาตั้งแต่แรกถึงวันสุดท้ายของเดือน หรือใครจะวาดเป็นปฏิทินก็ได้นะคะ ส่วนอีกหน้าจะเขียนบันทึกสิ่งที่ต้องทำ บันทึกเตือนความจำเราในเรื่องที่จะเกิดขึ้นในเดือนนั้น
– Daily Log บันทึกแบบรายวัน จะเป็นการบันทึกที่ละเอียดมากขึ้น จะเขียน Title เป็นวัน/เดือน/ปี แล้วเขียนรายละเอียดที่จะเกิดขึ้นในวันนั้นๆลงไป อาจทำสัญลักษณ์เพิ่มเติมหน้าข้อที่จำเป็นต้องทำเร่งด่วนด้วยก็ได้ หากจบวันนี้ ก็ให้เริ่มวันใหม่ด้วยการเขียน Title เป็นวัน/เดือน/ปี ไปเรื่อยๆ

╔══════════════╗
♡ ความรู้เพิ่มเติม เจอกันได้ที่ ♡
▲ YOUTUBE ฟรีคลิปความรู้ความบันเทิง : https://bit.ly/2FXJwpp
▲ SHOP คอร์สสอนวาดรูป อุปกรณ์วาดรูประบายสี : https://lin.ee/syNIFtI
▲ LINE: @ctclockwises (มี@) https://lin.ee/syNIFtI
╚══════════════╝